วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิธีการฝึกนกบินอิสระ

วิธีการฝึกนกบินอิสระ

1.นำนกออกมาตอนเค้าหิว 
ตลอดช่วงเช้านกจะไม่ได้กินอะไรมาก่อน หากสังเกตุดูนกในช่วงเช้า ๆ ถ้าหากยังไม่ได้ตื่นมาป้อนมันอาหารเราจะเห็นว่านกแสดงอาการหิวหรือว่าตอนเย็นหากว่าเรายังไม่ได้ป้อนอาหารเช่นกัน และวิธีฝึกข้อแรกนี้คือ เริ่มฝึกจากในบ้านก่อน ตอนหิว เรียกให้นกาหา หลังจากมาแล้ว ให้อาหารแล้ววาง จากนั้นเดินหนีไปที่อื่นต่อ เรียกนกมาอีกครั้ง เมื่อเค้ามาก็ให้อาหารแล้ววาง ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
2.ท่าและเสียงที่ใช้เรียกนก และ อุปกรณ์ทำเสียงเรียกนกท่าประกอบเรียกนกนั้นมีหลายท่า ซึ่งก็สามารถคิดได้เอง โดยท่าพร้อมเสียงเรียกนกนี้ ต้องหมั่นทำเป็นประจำ เช้า กลางวัน เย็น ใช้ได้ผลดีกับนกหัดบิน

เริ่มฝึกโดย เดินออกห่างมาเรื่อยๆ จากห้าเมตร เป็น สิบเมตร และไกลขึ้นๆจนไกลมาก ซึ่งในระยะไกลมากนี้ เสียงเรียกเรานกจะไม่ได้ยินแล้ว เสียงมนุษย์ อาจจะเดินทางไปได้ไม่ไกลและขณะนกบิน กล้ามเนื้อใหล่ จะทำงานอย่างเร็วมาก จนอาจจะมีเสียงขณะที่บิน
อุปกรณ์ทำเสียงเรียกนก ได้แก่ พวก นกหวีดชนิดต่างๆ ขลุ่ยนกเป็นต้น
3.สถานที่ ที่โล่ง ปลอดคน หรือสิ่งรบกวน สิ่งเร้า
คือการฝึกเรียกนกในสถานที่โล่ง เพื่อให้นกได้บินอย่างอิสระมากขึ้น โดยสถานที่ที่เหมาะสมคือ ที่โล่ง ปลอดคน และไม่มีสิ่งรบกวนต่างๆ เพราะอาจทำให้นกตกใจหรือเกิดความสับสน เป็นสาเหตุทำให้นกบินหนีได้ 

อ้างอิง http://www.nokbin.com/default.asp?content=wboarddetail&wbid=34&qid=1600

วิธีเลือกซื้อลูกนกและวิธีเลี้ยงนกฟอพัส

วิธีเลือกซื้อลูกนกฟอพัส



นกฟอพัสเป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อน โดยปล่อยให้บินได้ภายนอกกรง หรือในอาคาร สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า นกฟอพัส เป็นนกแก้วขนาดเล็กมาก แถมมีสีสันสวยงาม เสียงไม่ดังจนเป็นที่รำคราญ สามารถปล่อยให้บินในที่พักได้ ซึ่งทำให้เกิดความประทับใจต่อผู้ที่ได้เลี้ยงนกชนิดนี้เป็นอย่างมากที่ได้ชื่นชมความสวยงามของตัวนกและความน่ารักเมื่อเจ้านกตัวน้อยเหล่านี้ได้ออกมาอยู่นอกกรง นอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการนำนกฟอพัสไปฝึกเพื่อนำไปปล่อยบินภายนอกอาคารแล้วกลับมาหาเจ้าของ ซึ่งทำให้ผู้เลี้ยงมีความเข้าใกล้ธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และนี่อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นกับนกที่เราเลี้ยงเลยทีเดียว แต่ทุกขั้นตอนก่อนที่จะสามารถนำเขาออกมาเลี้ยงนอกกรง จะต้องมีวิธีการที่ถูกต้อง อันประกอบด้วย วิธีการซื้อ วิธีการเลี้ยงดู ตลอดจนถึงวิธีการฝึกฝน
วิธีการซื้อ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่จะทำให้เราได้ชื่นชมความสุข ความเพลิน อันแปลกใหม่ในชีวิตที่จะได้จากนกฟอพัส วิธีการซื้อนกลูกป้อน สามารถแยกเป็นประเด็นต่างๆได้ดังนี้
1. ไม่ควรซื้อลูกป้อนโดยการเปรียบเทียบราคา
2. ไม่ควรซื้อ จากแหล่งที่อาจมีเชื้อโรค
3. ไม่ควรซื้อ เพียงแค่ได้ดูรูปถ่าย
4. ไม่ควรซื้อลูกป้อนที่เคยผ่านการแยกจากพ่อ-แม่ มาป้อน
(ยกเว้น เฉพาะผู้ที่มีความชำนาญเท่านั้น)
5. ไม่ควรซื้อ เพราะว่าใจร้อน อยากได้ทันที
6. ควรซื้อลูกป้อนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง
7. ควรได้มีโอกาสเลือกลูกป้อน
8. ควรซื้อจากผู้ขายที่สามารถให้คำแนะนำ-ปรึกษาที่ถูกต้อง
9. ควรศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนตัดสินใจซื้อ


วิธีการเลี้ยงนกฟอพัส
ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ทุกคนย่อมไม่ต้องการให้สัตว์ที่เลี้ยงอยู่ตาย ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพ สำหรับนกฟอพัสนั้น มีสาเหตุการตาย จำพวก คือ

จำพวกแรก ได้แก่พวกที่แก่ตายและเกิดอุบัติเหตุตายการป้องกัน สามารถทำได้ดังนี้
1. ควรเลือกซื้อลูกนกมาเลี้ยง เพราะลูกนกสามารถมีอายุอยู่ได้อีกนานจึงจะแก่ตาย
2. ไม่ควรนำลูกนกที่มีอายุแตกต่างกันมากมาเลี้ยงรวมกัน เพราะลูกนกที่มีอายุมากกว่าอาจจะทำร้าย พวกที่มีอายุน้อยกว่าจนตายได้
3.ไม่ควรนำลูกนกจำนวนมากเกินไปมาเลี้ยงรวมกัน ถ้ากรงที่ใช้เลี้ยงไม่ใหญ่มากพอ

จำพวกที่สองได้แก่พวกที่เจ็บป่วยตาย ซึ่งส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการเกิดโรคท้องเสีย แฮงเกอร์แต่มักจะเป็นเฉพาะตัวมันเองเท่านั้นการป้องกัน สามารถทำได้ดังนี้
1. ควรเลือกซื้อนกที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ร่าเริง แจ่มใส ไม่หงอยซึม
2. ควรสร้างโรงเรือนที่ล้อมด้วยตาข่ายลวดตาเล็ก เพื่อป้องกัน หนู และงู เข้าไปทำร้าย
3. ก่อนนำนกใหม่เข้าโรงเรือนเพาะเลี้ยง ควรนำนกไปทำความสะอาดตัวโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเจือจางอาบทั้งตัวแล้วอาบด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จากนั้นนำไปผึ่งแดดอ่อนๆจนตัวแห้งแล้วจึงนำนกเข้าโรงเรือน
4. น้ำกิน อาหารให้สะอาดอยู่เสมอ และต้องไม่ขาด
5. ดูแลทำความสะอาดอุปกรณ์ กรง และโรงเรือนอยู่เป็นประจำ
6. ควรหมั่นตรวจตา นกที่อยู่ในโรงเรือนว่ามีอาการผิดปกติ เช่น หงอยซึม ขนพองฟู หัวซุกปีกหรือไม่ ถ้ามี ควรแยกออกจากฝูงเพื่อทำการรักษา

ในกรณีที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ควรให้ยาป้องกันซัก 1-3 วัน  โดยสังเกตจากตัวนกว่าขนเริ่มพองฟู หัวซุกปีกหรือไม่

อ้างอิง http://www.siamforpus.com/article/13.html
http://www.siamforpus.com/article/9.html


ลักษณะและพฤติกรรมของนกฟอพัส

ลักษณะและพฤติกรรมของนกฟอพัส

นกฟอพัสมีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายคลึงกับนกหลายชนิด เช่น เลิฟเบิร์ด ฟิ้นซ์ 7 สี   เป็นต้น   จากประสบการณ์ที่เราได้ทำการศึกษาเลี้ยงดูนกฟอพัสมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า ปี   พบว่าความคล้ายคลึงสามารถเปรียบเทียบกับนกชนิดอื่นๆได้ดังนี้คือ
1. สีสัน  มีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกับนกเลิฟเบิร์ด   และสามารถพัฒนาสีสันใหม่ๆได้
2. รูปร่าง คล้ายคลึงกับนกเลิฟเบิร์ด 
3. ขนาด ใกล้เคียงกับนกหงส์หยกสายพันธุ์ฮอลแลนด์ แต่หางสั้นกว่า
4. การจำแนกเพศ  มีตำแหน่งที่สามารถใช้บ่งบอกเพศได้ชัดเจน     (ยกเว้น ขาวตาแดง)เช่นเดียวกับนกหงส์หยก เพียงแต่คนละตำแหน่งกัน
5. ลักษณะการป่ายปีนคล้ายกับนกแก้วหกหรือนกในตระกูลพาราคิต
6. ชอบของเล่น  เหมือนนกหงส์หยก
7. ถ้าหากเลี้ยงเป็นนกเชื่อง โดยทั่วไป จะเชื่องมาก เช่นเดียวกับนกค็อกคาเทล เนื่องจากมีขนาดเล็ก บางครั้งอาจดูเหมือนของเล่นสำหรับเด็กๆ
8. ขนาดกรง และอุปกรณ์ที่ใช้คล้ายกับนกเลิฟเบิร์ด9. วิธีการเลี้ยงดู    และเพาะขยายพันธุ์คล้ายกับนกเลิฟเบิร์ด
10. อาหารหลัก    ใช้เมล็ดธัญพืช เช่นเดียวกับนกเลิฟเบิร์ด    แต่อัตราส่วนผสมต่างกัน
11. อาหารเสริมคล้ายกับนกเลิฟเบิร์ดและนกฟิ้นซ์ 7 สี

จากที่กล่าวมาข้างต้น       จึงทำให้นกฟอพัสกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจากผู้นิยมเลี้ยงนกไว้ดูเล่นหรือเป็นเพื่อน(Companion Animal) ทั่วโลก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า มีลักษณะ   รูปร่าง    พฤติกรรมและวิธีการเลี้ยงดูคล้ายคลึงกับนกหลายชนิดดังที่กล่าวมา



อ้างอิง http://www.siamforpus.com/article/7.html

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนกฟอพัส

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนกฟอพัส

นกเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์ทั่วโลกนำมาเพาะเลี้ยง เพื่อเสริมสร้างความสุขให้กับชีวิตมาเป็นเวลานานแล้วจนบางประเทศใช้นกเป็น สัญลักษณ์ของประเทศก็มี มนุษย์มีความพยายามอย่างสูงมากเพื่อที่จะนำนกต่างๆมาเลี้ยงเป็นเพื่อนและ เพาะขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้าง สายพันธุ์ สีสัน ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติ

นกฟอพัสเป็นนกแก้ว(นกตระกูลปากขอ)ชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ที่สุด (parrotlet) ซึ่งจัดอยู่ในประเภทนกสวยงาม สามารถพัฒนาสีสันได้เพิ่มมากขึ้น ไม่ส่งเสียงดัง นกฟอพัสเป็นนกที่ถูกจัดให้ขึ้นบัญชีไซเตสประเภท 2 ปัจจุบัน สามารถจำแนกออกได้ทั้งหมด 8 สายพันธุ์ คือ

1.       Yellow-face parrotlet (Forpus xanthops) มี ขนาดความยาว 15 ซม. เป็นสาย พันธุ์เดียวที่มีขนาดความยาวมากที่สุด มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู

2.       Maxican parrotlet (Forpus cyanopygius, Forpus c. insularis) มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศแมกซิโก

3.       Green-rumped parrotlet (Forpus passerinus, Forpus p. viridissimus, Forpus p. deliciosus) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส

4.       Blue-winged parrotlet (Forpus xanthopterygius, Forpus x. flavissimus, Forpus x. flavescens) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศอาเจนติ น่า บราซิล

5.       Spectacied parrotlet (Forpus conspicillatus, Forpus c. caucae) มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศปานามา

6.       Turqoise-rumped parrotlet (Forpus spengeli) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศโคลัมเบีย

7.       Sclaters parrotlet (Forpus sclateri) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล

8.       Pacific parrotlet (Forpus coelestis) มี ขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่น กำเนิดในประเทศเปรู


สีสันของนกฟอพัส ปัจจุบันมีมากกว่า 10 สี เช่น เขียว ฟ้า เหลือง ขาว พายด์ เป็นต้น ซึ่งเป็น นกในสายพันธุ์ Pacific parrotlet ซึ่งมีลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรม 2 แบบ ได้แก่ incomplete dominant ในนกพายด์ กับแบบ recessive ในนกสีอื่น ส่วนสายพันธุ์ Blue-winged parrotlet ในนกลูติโน่ จะมีการถ่ายทอดพันธุกรรมเป็นแบบ sex-linked

การจำแนกเพศนกฟอพัส สามารถจำแนกเพศได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ลูกนกอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยจำแนกจากความแตกต่างของสีที่ลั้มและโคนปีก เพศเมียจะมีสีเช่นเดียวกันกับสีของตัวนก ยกเว้น นกขาวตาแดงซึ่งไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย ต้องอาศัยการตรวจเพศจากห้องแล็บหรือใช้วิธีลองจับคู่ก็ได้

นกฟอพัสมีจุดเด่นหลายประการ คือ เป็นนกแก้วที่มีขนาดเล็กมากที่สุด น่ารัก มีสีสันสวยงาม จำแนกเพศได้ง่าย สามารถเลี้ยงในแหล่งชุมชน หอพัก โดยไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านหรือห้องข้างเคียง กินอาหารไม่มาก เลี้ยงลูกเก่ง อายุยาวนาน และไม่มีโรคติดต่อ จึงเหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงดูเล่นอย่างมาก

อ้างอิง http://www.siamforpus.com/article/6.html

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International..