วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนกฟอพัส

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนกฟอพัส

นกเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่มนุษย์ทั่วโลกนำมาเพาะเลี้ยง เพื่อเสริมสร้างความสุขให้กับชีวิตมาเป็นเวลานานแล้วจนบางประเทศใช้นกเป็น สัญลักษณ์ของประเทศก็มี มนุษย์มีความพยายามอย่างสูงมากเพื่อที่จะนำนกต่างๆมาเลี้ยงเป็นเพื่อนและ เพาะขยายพันธุ์ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาโครงสร้าง สายพันธุ์ สีสัน ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นกว่าที่มีอยู่ในธรรมชาติ

นกฟอพัสเป็นนกแก้ว(นกตระกูลปากขอ)ชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ที่สุด (parrotlet) ซึ่งจัดอยู่ในประเภทนกสวยงาม สามารถพัฒนาสีสันได้เพิ่มมากขึ้น ไม่ส่งเสียงดัง นกฟอพัสเป็นนกที่ถูกจัดให้ขึ้นบัญชีไซเตสประเภท 2 ปัจจุบัน สามารถจำแนกออกได้ทั้งหมด 8 สายพันธุ์ คือ

1.       Yellow-face parrotlet (Forpus xanthops) มี ขนาดความยาว 15 ซม. เป็นสาย พันธุ์เดียวที่มีขนาดความยาวมากที่สุด มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู

2.       Maxican parrotlet (Forpus cyanopygius, Forpus c. insularis) มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศแมกซิโก

3.       Green-rumped parrotlet (Forpus passerinus, Forpus p. viridissimus, Forpus p. deliciosus) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส

4.       Blue-winged parrotlet (Forpus xanthopterygius, Forpus x. flavissimus, Forpus x. flavescens) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศอาเจนติ น่า บราซิล

5.       Spectacied parrotlet (Forpus conspicillatus, Forpus c. caucae) มีขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศปานามา

6.       Turqoise-rumped parrotlet (Forpus spengeli) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศโคลัมเบีย

7.       Sclaters parrotlet (Forpus sclateri) มีขนาดความยาว 12 ซม. มีถิ่นกำเนิดในประเทศบราซิล

8.       Pacific parrotlet (Forpus coelestis) มี ขนาดความยาว 13 ซม. มีถิ่น กำเนิดในประเทศเปรู


สีสันของนกฟอพัส ปัจจุบันมีมากกว่า 10 สี เช่น เขียว ฟ้า เหลือง ขาว พายด์ เป็นต้น ซึ่งเป็น นกในสายพันธุ์ Pacific parrotlet ซึ่งมีลักษณะการถ่ายทอดพันธุกรรม 2 แบบ ได้แก่ incomplete dominant ในนกพายด์ กับแบบ recessive ในนกสีอื่น ส่วนสายพันธุ์ Blue-winged parrotlet ในนกลูติโน่ จะมีการถ่ายทอดพันธุกรรมเป็นแบบ sex-linked

การจำแนกเพศนกฟอพัส สามารถจำแนกเพศได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ลูกนกอายุประมาณ 3 สัปดาห์ โดยจำแนกจากความแตกต่างของสีที่ลั้มและโคนปีก เพศเมียจะมีสีเช่นเดียวกันกับสีของตัวนก ยกเว้น นกขาวตาแดงซึ่งไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมีย ต้องอาศัยการตรวจเพศจากห้องแล็บหรือใช้วิธีลองจับคู่ก็ได้

นกฟอพัสมีจุดเด่นหลายประการ คือ เป็นนกแก้วที่มีขนาดเล็กมากที่สุด น่ารัก มีสีสันสวยงาม จำแนกเพศได้ง่าย สามารถเลี้ยงในแหล่งชุมชน หอพัก โดยไม่ส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านหรือห้องข้างเคียง กินอาหารไม่มาก เลี้ยงลูกเก่ง อายุยาวนาน และไม่มีโรคติดต่อ จึงเหมาะสำหรับนำมาเลี้ยงดูเล่นอย่างมาก

อ้างอิง http://www.siamforpus.com/article/6.html

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้ สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น